1 ไร่ จะลงทุนประมาณ 2 หมื่นบาท สามารถปลูกกล้วยหอมทองได้ทั้งหมด 400 หน่อ /ไร่ แต่ขายผลผลิตได้ประมาณ 80,000 บาท /ไร่ ถือว่ามีรายได้ค่อนข้างดี และทำให้คุณภาพชีวิตของเกษตรกรดีขึ้น ซึ่งผ่านมาเราส่งกล้วยหอมทองภายในกลุ่มของเราไปญี่ปุ่น 100% แต่ตอนหลังจึงมาประชุมร่วมกันว่าเราน่าจะส่งขายภายในประเทศบ้าง เพื่อให้คนไทยมีโอกาสกินกล้วยหอมทอง"
"จนที่สุดจึงติดต่อกับ 7-11 เพื่อขอนำกล้วยหอมทองจากสหกรณ์การเกษตรบ้านลาดเข้าไปวางจำหน่ายในสาขาทั้งหมดที่มีมากกว่า 8,000 - 9,000 สาขาทั่วประเทศ จนทำให้ยอดการส่งออกสินค้าไปญี่ปุ่นหลือเพียง 90% และ 10% วางจำหน่ายภายในร้านคอนวีเนี่ยนสโตร์"
"ศิริชัย" บอกว่าความสำเร็จที่เกิดขึ้นส่วนหนึ่งมาจากองค์ความรู้ของมูลนิธิปิดทองหลังพระ ที่ส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาช่วยให้ความรู้ โดยเฉพาะในเรื่องของชุมชนพึ่งตนเอง เพื่อเดินตามรอยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อีกส่วนหนึ่งได้วิชาการทางด้านการเกษตรจากเกษตรตำบล อำเภอ และจังหวัด รวมถึงการเชื่อมโยงองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่เราเข้าไปศึกษาดูงานโครงการพระราชดำริในที่ต่าง ๆ นอกจากนั้น ก็เป็นองค์ความรู้การปลูกกล้วยหอมทองให้ได้คุณภาพจากเกษตรกรชาวญี่ปุ่น
"เพราะเป้าหมายที่เราต้องการจริง ๆ คือการสร้างเกษตรกรให้เป็นปราชญ์ชาวบ้าน หรือเป็นเกษตรกรตัวอย่างในการเป็น Smart Farmer เพราะถ้าเราสามารถสร้างเกษตรกรให้มีความรู้ขนาดนั้นได้ เขาจะได้นำองค์ความรู้ที่มีไปต่อยอด และให้ความรู้แก่เกษตรกรในจังหวัดอื่น ๆ ต่อไป เสมือนเป็นการแบ่งปันองค์ความรู้ให้กับเพื่อนเกษตรกรด้วยกัน เหมือนอย่างทุกวันนี้เกษตรกรของเราไปช่วยในพื้นที่ต่าง ๆ บ้าง แต่ยังไม่เพียงพอ เพราะทุกคนอยากประสบความสำเร็จ แต่การจะประสบความสำเร็จได้ต้องเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง"
"ตอนนี้กลุ่มเกษตรกรที่ปลูกกล้วยหอมทองที่ อ.บ้านลาดถูกรับรู้ในวงกว้างมากขึ้น จนมีชื่อเสียงในต่างประเทศ และภายในประเทศ กระทั่งมีเกษตรกรในพื้นที่อื่น ๆ อยากเป็นเหมือนเราบ้าง ซึ่งเราก็ไม่ว่าอะไร พร้อมสนับสนุนด้วยซ้ำ แต่อย่างว่าการปลูกกล้วยหอมทองแต่ละพื้นที่คุณภาพที่ได้อาจมีความแตกต่างกัน เพราะกล้วยหอมทองชอบอากาศร้อนชื้น อุณหภูมิประมาณ 25-35 องศา และที่บ้านลาดอุณหภูมิเหมาะสมต่อการปลูกกล้วยหอมทองอย่างมาก"
"ซึ่งเหมือนกับทางภาคใต้ เขาปลูกกล้วยหอมทองเหมือนกัน แต่ผลผลิตที่ได้กลับแตกต่าง ของเขาเปลือกจะหนา และผลจะใหญ่คล้ายกับกล้วยฟิลิปปินส์ และไม่หอมเหมือนกล้วยหอมทองบ้านลาด อีกอย่างอาจอยู่ที่แหล่งน้ำด้วย ที่ทำให้คุณภาพ รสชาติของกล้วยมีความแตกต่างกัน"
ถึงตรงนี้ จึงอดถาม "ศิริชัย" ไม่ได้ว่าเพราะเหตุใด ? ทำไม ? กล้วยหอมทองจึงไปมีชื่อเสียงที่ประเทศญี่ปุ่น เขาจึงตอบให้ฟังว่าญี่ปุ่นเขาจะมีการจัดงานเทศกาลผลไม้นานาชาติทุกปี ผู้คนจากทั่วโลกจะนำผลไม้ประจำชาติของตัวเองมาร่วมออกงาน ส่วนของประเทศไทยเองก็มีผลไม้หลายชนิดมาร่วมงาน แต่เรานำกล้วยหอมทองจากบ้านลาดไปร่วมออกงาน
"จนที่สุดจึงติดต่อกับ 7-11 เพื่อขอนำกล้วยหอมทองจากสหกรณ์การเกษตรบ้านลาดเข้าไปวางจำหน่ายในสาขาทั้งหมดที่มีมากกว่า 8,000 - 9,000 สาขาทั่วประเทศ จนทำให้ยอดการส่งออกสินค้าไปญี่ปุ่นหลือเพียง 90% และ 10% วางจำหน่ายภายในร้านคอนวีเนี่ยนสโตร์"
"ศิริชัย" บอกว่าความสำเร็จที่เกิดขึ้นส่วนหนึ่งมาจากองค์ความรู้ของมูลนิธิปิดทองหลังพระ ที่ส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาช่วยให้ความรู้ โดยเฉพาะในเรื่องของชุมชนพึ่งตนเอง เพื่อเดินตามรอยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อีกส่วนหนึ่งได้วิชาการทางด้านการเกษตรจากเกษตรตำบล อำเภอ และจังหวัด รวมถึงการเชื่อมโยงองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่เราเข้าไปศึกษาดูงานโครงการพระราชดำริในที่ต่าง ๆ นอกจากนั้น ก็เป็นองค์ความรู้การปลูกกล้วยหอมทองให้ได้คุณภาพจากเกษตรกรชาวญี่ปุ่น
"เพราะเป้าหมายที่เราต้องการจริง ๆ คือการสร้างเกษตรกรให้เป็นปราชญ์ชาวบ้าน หรือเป็นเกษตรกรตัวอย่างในการเป็น Smart Farmer เพราะถ้าเราสามารถสร้างเกษตรกรให้มีความรู้ขนาดนั้นได้ เขาจะได้นำองค์ความรู้ที่มีไปต่อยอด และให้ความรู้แก่เกษตรกรในจังหวัดอื่น ๆ ต่อไป เสมือนเป็นการแบ่งปันองค์ความรู้ให้กับเพื่อนเกษตรกรด้วยกัน เหมือนอย่างทุกวันนี้เกษตรกรของเราไปช่วยในพื้นที่ต่าง ๆ บ้าง แต่ยังไม่เพียงพอ เพราะทุกคนอยากประสบความสำเร็จ แต่การจะประสบความสำเร็จได้ต้องเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง"
"ตอนนี้กลุ่มเกษตรกรที่ปลูกกล้วยหอมทองที่ อ.บ้านลาดถูกรับรู้ในวงกว้างมากขึ้น จนมีชื่อเสียงในต่างประเทศ และภายในประเทศ กระทั่งมีเกษตรกรในพื้นที่อื่น ๆ อยากเป็นเหมือนเราบ้าง ซึ่งเราก็ไม่ว่าอะไร พร้อมสนับสนุนด้วยซ้ำ แต่อย่างว่าการปลูกกล้วยหอมทองแต่ละพื้นที่คุณภาพที่ได้อาจมีความแตกต่างกัน เพราะกล้วยหอมทองชอบอากาศร้อนชื้น อุณหภูมิประมาณ 25-35 องศา และที่บ้านลาดอุณหภูมิเหมาะสมต่อการปลูกกล้วยหอมทองอย่างมาก"
"ซึ่งเหมือนกับทางภาคใต้ เขาปลูกกล้วยหอมทองเหมือนกัน แต่ผลผลิตที่ได้กลับแตกต่าง ของเขาเปลือกจะหนา และผลจะใหญ่คล้ายกับกล้วยฟิลิปปินส์ และไม่หอมเหมือนกล้วยหอมทองบ้านลาด อีกอย่างอาจอยู่ที่แหล่งน้ำด้วย ที่ทำให้คุณภาพ รสชาติของกล้วยมีความแตกต่างกัน"
ถึงตรงนี้ จึงอดถาม "ศิริชัย" ไม่ได้ว่าเพราะเหตุใด ? ทำไม ? กล้วยหอมทองจึงไปมีชื่อเสียงที่ประเทศญี่ปุ่น เขาจึงตอบให้ฟังว่าญี่ปุ่นเขาจะมีการจัดงานเทศกาลผลไม้นานาชาติทุกปี ผู้คนจากทั่วโลกจะนำผลไม้ประจำชาติของตัวเองมาร่วมออกงาน ส่วนของประเทศไทยเองก็มีผลไม้หลายชนิดมาร่วมงาน แต่เรานำกล้วยหอมทองจากบ้านลาดไปร่วมออกงาน
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiswRyWqackUyuYYbaYuowQVcJ62bHbXgfYFV1UKAflV0YA1lWRB4CraQ791v9Yj8xIWHB6ApJKcBffoNvgdsLTDy4jahNH0sdipod-CWyQRSbCOB7u0aiq_-5kr0D5vnr9seSfKS3-NYh_/s320/1338861427.jpg)
เขาเองก็เป็นลูกหลานของที่นี่ น่าจะต่อยอดจากสิ่งที่พ่อแม่ทำมาเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ โดยใช้ความชำนาญทางเทคโนโลยีที่เขามีมาเป็น Smart Farmer ในที่สุด"
การทำอย่างนี้ไม่เพียงเป็นการสร้างคนรุ่นใหม่ให้เกิดแรงบันดาลใจ หากยังเป็นการสอนให้พวกเขากลับยังถิ่นฐานบ้านเกิดของตัวเอง เพื่อจะได้ดำเนินชีวิตครอบครัวอย่างมีความสุข
ทั้งยังเป็นความสุขที่เกิดจากการสร้างภายในของตัวเอง
จนทำให้เกิดความยั่งยืนในอนาคต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น