ญี่ปุ่นรับซื้อไม่อั้น ขอให้ปลอดสารเคมี
อินทรีย์ทั้งสวน
กล้วยหอมทองเป็นผลไม้ที่สามารถปลูกได้เกือบทุกพื้นที่ของไทย ใช้เวลาราว 9 เดือนก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ ส่วนใหญ่จะปลูกมากในพื้นที่ภาคกลาง โดยข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรระบุว่า ในปี 2556 ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกกล้วยหอมทั้งประเทศ 86,270 ไร่ มีผลผลิตรวม 234,220 ตัน ใช้บริโภคภายในประเทศ 232,689 ตัน ส่งออกต่างประเทศ 1,531 ตัน มูลค่าการส่งออกกว่า 46.07 ล้านบาท
แหล่งเพาะปลูกกล้วยหอมที่สำคัญส่วนใหญ่อยู่บริเวณภาคกลาง โดย 5 จังหวัดที่มีพื้นที่เพาะปลูกกล้วยหอมมากที่สุด 5 อันดับแรกในปี 2556 คือ จังหวัดปทุมธานี 14,170.5 ไร่ จังหวัดเพชรบุรี 8,956 ไร่ จังหวัดชุมพร 8,507 ไร่จังหวัดสระบุรี 3,997 ไร่ และจังหวัดหนองคาย 3,254 ไร่
ทั้งนี้ จังหวัด "ปทุมธานี" ถือเป็นแหล่งปลูกกล้วยหอมที่ใหญ่ที่สุดของไทยโดยในปี 2556 มีพื้นที่ปลูกกล้วยหอม 14,170.5 ไร่โดยมีข้อได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ ที่ดินเป็นดินเหนียว มีระบบชลประทานทั่วถึง ทำให้เหมาะกับการปลูกกล้วยหอม หรือพืชชนิดอื่น ๆ อีกทั้งยังอยู่ใกล้กับตลาดค้าส่งผักผลไม้ขนาดใหญ่ทั้งตลาดไท ตลาดสี่มุมเมืองการขนส่งจึงสะดวกสบาย ผลผลิตเสียหายน้อย
ขณะเดียวกัน การปลูกกล้วยในปทุมธานีก็มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยตั้งแต่ปี 2553-2556 เป็นต้นมา พื้นที่เพาะปลูกกล้วยหอมในปทุมธานีเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 95 รวมทั้งจำนวนเกษตรกรที่หันมาปลูกกล้วยหอมเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 40 โดยปลูกมากที่สุดในอำเภอ "หนองเสือ" จำนวน 14,170.5 ไร่ ในปี 2556 และมีเกษตรกรจำนวน 701 ราย
![](https://lh3.googleusercontent.com/blogger_img_proxy/AEn0k_uFwwz-t7mq0vm2TDUm_DmQgwJJxSRvgWy20uuNOPHBMikp_Vzf9EYNeM72x6ycYzPO5LkL4yCzYlKp4ZUi2at854xDnu8ppRkz3LNHKBMI4539doFP5ihXv9-ZlUx3bpYJpzv1PA=s0-d)
ผลผลิตกล้วยหอมทองจากจังหวัดปทุมธานีจะป้อนเข้าสู่ตลาดในประเทศทั้งตลาค้าส่ง โมเดิร์นเทรด ซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านสะดวกซื้อที่มีความต้องการจำนวนมากทั้งยังส่งออกไปต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่นที่เข้ามาจับจอง ขอซื้อกันถึงในสวนจนผลิตไม่ทัน
"เฉลิมชัย เณรเถื่อน" เจ้าของฟาร์มกล้วยหอม วัน บานาน่า และผู้จัดจำหน่ายกล้วยหอมในเทสโก้ โลตัส บอกกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า พื้นที่ปลูกกล้วยหอมของวัน บานาน่า ส่วนใหญ่อยู่ในอำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี บริเวณคลอง 9 คลอง 10 และที่อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รวมทั้งหมดประมาณ 1,700 ไร่ มีผลผลิตราว 150 ตันต่อเดือน ซึ่งผลผลิตทั้งหมดจะส่งเข้าศูนย์กระจายสินค้าเพื่อวางจำหน่ายในโมเดิร์นเทรด โดยปัจจุบันความนิยมบริโภคกล้วยหอมเพิ่มขึ้นมาก จนผลผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการ
"พยายามปลูกให้ได้เดือนละ 100 ไร่เพื่อให้มีผลผลิตตลอดทั้งปี และมีการประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรเข้ามาเป็นคู่สัญญาส่งผลผลิตให้มากขึ้น และเมื่อใกล้ช่วงสารทจีนจะเพิ่มพื้นที่ปลูกเป็น 300-400 ไร่ เพราะความต้องการในช่วงดังกล่าวเพิ่มขึ้นหลายเท่า และอนาคตตลาดกล้วยหอมทองจะดีขึ้นเรื่อย ๆ เพราะราคามีแนวโน้มที่ดีอีกทั้งขณะนี้ผู้คนยังนิยมรับประทานกล้วยมากขึ้นจากเทรนด์สุขภาพที่มาแรง"
"เฉลิมชัย" ยังบอกอีกว่า ขณะนี้ตลาดต่างประเทศก็ยังมีความต้องการสูง โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่น ซึ่งสวนกล้วยหอมของวัน บานาน่า ที่ปทุมธานี มีบริษัทญี่ปุ่น 3 รายที่เข้ามาติดต่อให้ส่งผลผลิตให้ แต่เนื่องจากยังติดเงื่อนไขที่จะต้องปลูกแบบอินทรีย์ ปลอดสารเคมี ซึ่งปลูกค่อนข้างลำบาก จึงอยู่ระหว่างการพิจารณา
![](https://lh3.googleusercontent.com/blogger_img_proxy/AEn0k_uWkJIX3tVpJQtT5r70L7EvZww0u7WSfDUvrQzi2rTuDTp3EHIeAHq5UhTvNKZYtnzsZeG3oDBuaVOC_W-0U9b_j6caYvXbngp8UkTRtuDS_KFcP1sTfkp8v39DbjYV0zVCNuOi=s0-d)
ขณะที่จังหวัดลพบุรีที่แม้จะมีพื้นที่ปลูกไม่มากนัก แต่กล้วยหอมจากที่นี่มีรสชาติดีเนื้อแน่น เหนียวอร่อยเป็นพิเศษ ทำให้มีความต้องการสูง มีวางขายในตลาดไทเพียงแห่งเดียวเท่านั้น โดยปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกกล้วยหอม 2,795 ไร่ อยู่ในบริเวณอำเภอเมือง 695 ไร่ และอำเภอบ้านหมี่ 2,100 ไร่ เก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว 22,500 กก. และยังไม่มีการส่งออกไปยังต่างประเทศ
ตลาดกล้วยหอมจึงไม่ใช่ตลาดเล็ก ๆ กล้วย ๆ เพราะแม้จะปลูกได้ทุกที่ทั่วไทย แต่ก็ยังไม่พอขาย
แหล่งเพาะปลูกกล้วยหอมที่สำคัญส่วนใหญ่อยู่บริเวณภาคกลาง โดย 5 จังหวัดที่มีพื้นที่เพาะปลูกกล้วยหอมมากที่สุด 5 อันดับแรกในปี 2556 คือ จังหวัดปทุมธานี 14,170.5 ไร่ จังหวัดเพชรบุรี 8,956 ไร่ จังหวัดชุมพร 8,507 ไร่จังหวัดสระบุรี 3,997 ไร่ และจังหวัดหนองคาย 3,254 ไร่
ทั้งนี้ จังหวัด "ปทุมธานี" ถือเป็นแหล่งปลูกกล้วยหอมที่ใหญ่ที่สุดของไทยโดยในปี 2556 มีพื้นที่ปลูกกล้วยหอม 14,170.5 ไร่โดยมีข้อได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ ที่ดินเป็นดินเหนียว มีระบบชลประทานทั่วถึง ทำให้เหมาะกับการปลูกกล้วยหอม หรือพืชชนิดอื่น ๆ อีกทั้งยังอยู่ใกล้กับตลาดค้าส่งผักผลไม้ขนาดใหญ่ทั้งตลาดไท ตลาดสี่มุมเมืองการขนส่งจึงสะดวกสบาย ผลผลิตเสียหายน้อย
ขณะเดียวกัน การปลูกกล้วยในปทุมธานีก็มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยตั้งแต่ปี 2553-2556 เป็นต้นมา พื้นที่เพาะปลูกกล้วยหอมในปทุมธานีเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 95 รวมทั้งจำนวนเกษตรกรที่หันมาปลูกกล้วยหอมเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 40 โดยปลูกมากที่สุดในอำเภอ "หนองเสือ" จำนวน 14,170.5 ไร่ ในปี 2556 และมีเกษตรกรจำนวน 701 ราย
ผลผลิตกล้วยหอมทองจากจังหวัดปทุมธานีจะป้อนเข้าสู่ตลาดในประเทศทั้งตลาค้าส่ง โมเดิร์นเทรด ซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านสะดวกซื้อที่มีความต้องการจำนวนมากทั้งยังส่งออกไปต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่นที่เข้ามาจับจอง ขอซื้อกันถึงในสวนจนผลิตไม่ทัน
"เฉลิมชัย เณรเถื่อน" เจ้าของฟาร์มกล้วยหอม วัน บานาน่า และผู้จัดจำหน่ายกล้วยหอมในเทสโก้ โลตัส บอกกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า พื้นที่ปลูกกล้วยหอมของวัน บานาน่า ส่วนใหญ่อยู่ในอำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี บริเวณคลอง 9 คลอง 10 และที่อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รวมทั้งหมดประมาณ 1,700 ไร่ มีผลผลิตราว 150 ตันต่อเดือน ซึ่งผลผลิตทั้งหมดจะส่งเข้าศูนย์กระจายสินค้าเพื่อวางจำหน่ายในโมเดิร์นเทรด โดยปัจจุบันความนิยมบริโภคกล้วยหอมเพิ่มขึ้นมาก จนผลผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการ
"พยายามปลูกให้ได้เดือนละ 100 ไร่เพื่อให้มีผลผลิตตลอดทั้งปี และมีการประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรเข้ามาเป็นคู่สัญญาส่งผลผลิตให้มากขึ้น และเมื่อใกล้ช่วงสารทจีนจะเพิ่มพื้นที่ปลูกเป็น 300-400 ไร่ เพราะความต้องการในช่วงดังกล่าวเพิ่มขึ้นหลายเท่า และอนาคตตลาดกล้วยหอมทองจะดีขึ้นเรื่อย ๆ เพราะราคามีแนวโน้มที่ดีอีกทั้งขณะนี้ผู้คนยังนิยมรับประทานกล้วยมากขึ้นจากเทรนด์สุขภาพที่มาแรง"
"เฉลิมชัย" ยังบอกอีกว่า ขณะนี้ตลาดต่างประเทศก็ยังมีความต้องการสูง โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่น ซึ่งสวนกล้วยหอมของวัน บานาน่า ที่ปทุมธานี มีบริษัทญี่ปุ่น 3 รายที่เข้ามาติดต่อให้ส่งผลผลิตให้ แต่เนื่องจากยังติดเงื่อนไขที่จะต้องปลูกแบบอินทรีย์ ปลอดสารเคมี ซึ่งปลูกค่อนข้างลำบาก จึงอยู่ระหว่างการพิจารณา
ขณะที่จังหวัดลพบุรีที่แม้จะมีพื้นที่ปลูกไม่มากนัก แต่กล้วยหอมจากที่นี่มีรสชาติดีเนื้อแน่น เหนียวอร่อยเป็นพิเศษ ทำให้มีความต้องการสูง มีวางขายในตลาดไทเพียงแห่งเดียวเท่านั้น โดยปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกกล้วยหอม 2,795 ไร่ อยู่ในบริเวณอำเภอเมือง 695 ไร่ และอำเภอบ้านหมี่ 2,100 ไร่ เก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว 22,500 กก. และยังไม่มีการส่งออกไปยังต่างประเทศ
ตลาดกล้วยหอมจึงไม่ใช่ตลาดเล็ก ๆ กล้วย ๆ เพราะแม้จะปลูกได้ทุกที่ทั่วไทย แต่ก็ยังไม่พอขาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น